รวมเทคนิคการแปลภาษาญี่ปุ่น สำหรับนักแปลมือใหม่

รวมเทคนิคการแปลภาษาญี่ปุ่น สำหรับนักแปลมือใหม่

จากประสบการณ์ที่ผมทำงานล่าม นักแปลภาษา ติวเตอร์ และ ไกด์นำเที่ยว มากกว่า10 ปี ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับคนญี่ปุ่นแทบทุกวัน และต้องเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นแทบทุกเดือน จบจากมหาวิทยาลัยนานาชาติด้านธุรกิจชั้นนำ จากทั้งในไทยและของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นการแปลจากภาษาจากภาษาไหนเป็นภาษาไหน (ญี่ปุ่น-ไทย-อังกฤษ) ด้วยระดับความพึงพอใจจากคำบอกเล่าของลูกค้า ผ่านการรับประกันคุณภาพงานแปล วันส่งมอบงานที่ทันกำหนดเวลา รวมทั้งการจัดรูปแบบให้เอกสารมีความเหมือนกับงานต้นฉบับ และทุกๆงานแปลที่ผ่านมาผมยินดีตรวจสอบแก้ไขงานหลังการแปลกระทั้งลูกค้าได้รับงานที่สมบูรณ์ถูกต้องที่สุด ด้วยการรักษามาตรฐานการให้บริการแปลภาษาญี่ปุ่นที่เน้นความพึงพอใจจากลูกค้า

 
 

เตรียมความพร้อมสำหรับการแปลภาษาญี่ปุ่น

แชร์ประสบการณ์ เตรียมความพร้อมสำหรับการแปลภาษาญี่ปุ่น ก่อนเริ่มงานแปลผมต้องเช็คตารางว่างในแต่ละวัน และประเมินภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดไว้ก่อน เพราะการแปลในแขนงที่เราเองไม่ถนัด จะทำให้นึกภาพไม่ออกแต่งประโยคออกมาได้ไม่ดีพอ และใช้เวลานาน แต่ในยุคปัจจุบันดิกชั่นนารีดีๆ สามารถหาได้ตามอินเตอร์หรือดาวน์โหลดมาใช้ได้แบบฟรีๆ จึงทำให้การแปลทำได้ง่ายขึ้น และในอินเตอร์เนตยังมีประโยคและภาพประกอบ หากมองภาพรวมเอกสารทั้งหมดหรือใน 1 หน้าแล้วพบว่ามีคำศัพท์,ประโยค, หรือไวยากรณ์ที่เราไม่เข้าใจ ให้เปิดหาวิธีใช้ที่ถูกต้องไว้ล่วงหน้าก่อนเริ่มแปล หรือ ถามเจ้าของภาษา(ถ้ามี)

ปัจจัยทางด้านการเตรียมพร้อมทางร่างกายก็สำคัญเช่นกัน หลายครั้งที่ต้องแปลงานที่มีครั้งละมากๆ การจัดสรีระท่านั่งให้สบายเหมาะสมกับรูปร่าง การผ่อนคลาย การพักผ่อนให้เพียงพอ ดังนั้นการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับนักแปล ห้ามฝืนแปลจนต้องอดนอน ต้องกินอาหารให้ตรงเวลา หรือออกกำลังกายบ้างบางช่วงเวลาหากมีโอกาสเอื้ออำนวย เมื่อร่างกายและจิตใจที่สดใสแข็งแรงจะเป็นพื้นฐานให้งานแปลออกมาได้ดี

 
นักแปลภาษาญี่ปุ่นมือใหม่
 

ปัญหาที่พบบ่อยในการแปล

ปัญหาหลักๆ ที่พบบ่อยในการแปล (กรณีแปลภาษาญี่ปุ่น) นักแปลทุกคนจะพบว่า ชื่อคน, ชื่อสถานที่ต่างๆ ในภาษาญี่ปุ่นนั้น มีคำอ่านและความหมายแบบเฉพาะ ซึ่งไม่สามารถเข้าใจด้วยเหตุผลได้ เราจึงต้องพึ่งการสืบค้นจากอินเตอร์เนตเพื่อศึกษาวิธีอ่าน และประโยคตัวอย่างอยู่บ่อยๆ กรณีนี้ต้องสั่งสมประสบการณ์ถึงจะแปลได้เร็ว

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือเอกสารต้นฉบับเป็นไฟล์ PDF หรือรูปภาพ ที่มีความซับซ้อน และไม่สามารถแก้ไขได้ต้องเสียเวลาสร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่ กรณีนี้หากเนื้อหาในเอกสาร PDF ดังกล่าวเป็นไฟล์ที่สามารถก๊อปปี้ได้ ให้ลองคลิ๊กขวาและเปิดด้วย MS Word หรือ Excel ดู (อันนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบไฟล์ต้นฉบับ) หากเอกสารไม่ได้ล็อกไว้ นักแปลจะสามารถก๊อปปี้ แล้วแปลลงใน MS Word หรือ Excel ได้เลย หากเอกสารนั่นไม่สามารถทำได้แนะนำให้ฝึกในการใช้ Hot key ให้ชิน และฝึกตั้งหน้ากระดาษ หรือสอบถามจากการถามผู้รู้ก็ได้ แล้วงานแปลจะทำได้เร็วขึ้น

อีกกรณีที่เป็นอุปสรรค์ต่อการแปลเป็นอย่างมาก คือ เอกสารต้นฉบับเป็นไฟล์ภาพ หรือ PDF มีขนาดใหญ่ ทำให้ใช้เวลาเปิดนาน และบางทีเมื่อเราก๊อปปี้ภาพแปลใน Word หรือ Excel แล้ว ภาพมีขนาดใหญ่ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการแปล กรณีนี้แนะนำจะต้องย่อภาพให้มีขนาดเล็กลงก่อน โดยมีขั้นตอนในการนำภาพลงไปแปะใน Excel ซึ่งสามารถทำได้โดยการ กด Ctrl+X เพื่อตัดภาพ จากนั้นให้คลิ๊กขวา แล้วเลือกเมนู Paste Special จะมีหน้าต่างมาให้แปลงขนาดภาพ โดยให้เลือก jpg แล้วภาพจะถูกย่อเล็กลงจนนำมาแปลได้อย่างไหลลื่น

 
 

เทคนิคและเคล็ดลับในการแปล

คือต้องแต่งประโยคออกมาให้ได้ใจความ เพื่อการอ่านตีความที่เข้าใจง่าย และรูปประโยคไม่ขัดแย้ง หรือ ดูแปลกจนเกินไป กรณีนี้เราจะแปลตรงๆออกมาทุกคำเลยไม่ได้ ต้องทวนประโยคและแปลออกมาอีกสัก2-3 ครั้ง และคิดตามผู้อ่านดูว่า เข้าใจง่าย ตรงประเด็น ไม่ขัดแย้ง หรือ มีคำสิ้นเปลืองที่มากจนเกินไป สำหรับเทคนิคเฉพาะของผมเอง นั้นก็คือ การเปิดดิกชันนารี ศึกษาคำเหมือน คำคล้าย คำตรงข้าม และวิธีการแต่งประโยค เพราะคำศัพท์บางตัวเราอาจรู้ความหมายแล้ว แต่รูปประโยคเปลี่ยน พอแปลออกมาดูแปลกๆ จึงจำเป็นต้องหาคำเหมือนคำคล้าย หรือ เปลี่ยนคำใหม่ (แต่คงความหมายเหมือนเดิม) เพื่อให้ประโยคออกมาได้ใจความมากที่สุด

 
 

สิ่งที่อยากแนะนำนักแปลใหม่

นอกจากการแปลเอกสารหลายๆ แขนงที่เราไม่ถนัด แต่จะช่วยให้เรามีความรู้กว้างขึ้น และการศึกษาหาความรู้ที่เราสนใจในเวลาว่าง ก็จะช่วยในเรื่องการแปลได้ เนื่องจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีความซับซ้อน เช่น ตัวอักษรคันจิ จะมีวิธีการใช้และคำอ่านแบบเฉพาะ (บางตัวยากจนคนญี่ปุ่นเองยังอ่านไม่ได้) ในฐานะคนชอบภาษาญี่ปุ่น ล่าม นักแปล ผมจึงจำเป็นต้องหาหนังสือ หรือ ความรู้ในอินเตอร์เนต มาอ่านศึกษาเพิ่มเติมให้เป็นความรู้ติดตัวในยามว่าง

 

เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับ ภาษาญี่ปุ่น