ความสำคัญของภาษาพม่า
จากการสำรวจจำนวนประชากรในประเทศครั้งล่าสุดที่จัดทำขึ้นโดยรัฐบาลเมียนมาเมื่อปี พ.ศ. 2557 ประชากรของประเทศพม่ามีทั้งสิ้น 51.84 ล้านคน (ซึ่งในจำนวนนี้ ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีสถิติการอ่านเขียนภาษาพม่าได้ถึง 90%) ปัจจุบัน ตลาดลูกค้าพม่า ได้แตกเป็น 2 ส่วน คือ ตลาดผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า และตลาดผู้อาศัยอยู่ในต่างประเทศ (หลักๆคือ ออกไปทำงานหารายได้ส่งเงินกลับประเทศ) ในจำนวนนี้ เชื่อกันว่า คนพม่าที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย (ทั้งในระบบและนอกระบบ) ไม่น่าจะต่ำกว่า 2 ล้านคน ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ส่วนมากจะอาศัยอยู่ที่หัวเมืองใหญ่ๆ ตามภูมิภาคต่างๆและเมืองการค้าและเขตอุตสาหกรรมชายแดน
ประเทศพม่า ก่อนที่จะมาเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียน ได้ปิดประเทศไปหลายทศวรรษ ผลของการปิดประเทศ อย่างหนึ่งก็คือ ภาวะขาดแคลนสินค้าอุปโภคและบริโภคและการทะลักออกของแรงงานนอกประเทศ ซึ่งสินค้าไทยได้เข้าไปตอบสอนความต้องการนี้ผ่านทางการค้าชายแดนในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างดีและนี่เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ ปัจจุบันทำให้สินค้าและบริการของไทยเป็นที่รู้จักและได้การยอมรับมากในชนกลุ่มประชากรหมู่พม่าในประเทศเมียนมาและในกลุ่มคนพม่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
ถึงแม้ประเทศพม่าจะมีรายได้ต่อหัว (พันกว่าดอลลาสหรัฐต่อคน) ต่ำในกลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ก็ตาม แต่เนื่องจากมีพื้นฐานทางทรัพยากร (มนุษย์และธรรมชาติ) ที่ดี ผนวกกับการเปิดประเทศมากขึ้นตามลำดับ ประกอบกับตัวเลข GDP ที่โตต่อเนื่อง เชื่อว่าไม่นาน พม่าจะมีรายได้ต่อหัวแบบก้าวกระโดดได้
ทั้งนี้ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นเพื่อชี้ให้เห็นถึง ศักยภาพเชิงปริมาณ (ขนาดประชากร) และคุณภาพ(ความสามารถในการซื้อ) ของคนพม่าที่มีอยู่ในการที่จะใช้สินค้าและบริการของผู้ประกอบการคนไทย และโอกาสในการติดต่อค้าขายกับนักธุรกิจชาวพม่า
ซึ่งช่องทางที่จะส่งเสริมให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ อย่างมีนัยยะแบบหนึ่งก็คือ การแปลงข้อมูลในรูปแบบที่ทางกลุ่มลูกค้าสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ และนั่นก็คือ การแปลข้อมูล เอกสาร กฎระเบียบ ข้อบังคับในการทำงาน โบรชัวร์ สื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการให้เป็นภาษาของกลุ่มลูกค้า(ไทย/อังกฤษ-พม่า) และส่งถึงกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง
นักแปลจะมีวิธีการเตรียมความพร้อมในการแปลภาษาพม่าให้เก่งได้อย่างไรบ้าง
| ขั้นแรก นักแปลต้องดูเนื้อหาต้นฉบับก่อนว่า เป็นเรื่องอะไร โดยทำการอ่านเนื้อหาดูคร่าว ๆ (browse through) ทั้งหมดก่อน |
| จากนั้น ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาก็จะทำการศึกษานิดหน่อย (หลักๆ จะศึกษาข้อมูลจากทาง online) |
| ต่อมานักแปลจะทำการจัดหน้าตามต้นฉบับพอสมควรก่อน และเริ่มการแปล |
| เมื่อทำการแปลเสร็จทั้งหมดแล้ว ทำการตรวจสอบงานแปลกับต้นฉบับอีกครั้ง พร้อมแต่งประโยค แก้ไขตรงที่ผิดเพี้ยนให้ถูกต้อง |
ปัญหาที่นักแปลจะพบระหว่างทำการแปล
เรื่องหลักไวยากรณ์ของไทยกับพม่านั้น จะสลับกัน กล่าวคือ โครสร้างประโยคไทยนั้น จะเป็น ประธาน + กริยา + กรรม (เหมือนภาษาอังกฤษ) แต่ของพม่า จะเป็น ประธาน + กรรม+ กริยา (เหมือนภาษาญี่ปุ่น) เช่น ในไทย “ฉันกินขนม” พม่าจะพูดว่า “ฉันขนมกิน” ซึ่งถ้าแปลทั้งประโยคหรือบทความก็ ไม่มีปัญหาอะไรมาก แต่ถ้าเอกสารต้นฉบับ ตัดประโยคมา หรือให้แปลตามคำภาษาไทย เช่น การเว้นช่องว่างให้กรอกตามลำดับ แบบนี้ ถ้าแปลทีละคำตามต้นฉบับ ก็อาจมีปัญหาได้ เพราะเมื่อนำมารวมเป็นประโยคแล้ว อาจทำให้ผู้อ่านสับสนได้
เรื่องคำศัพท์เฉพาะ ที่คำไทยมี แต่พม่าไม่มี เช่น ไพล(สมุนไพรไทย) แบบนี้นักแปลก็จะทำการแปลแบบทับศัพท์เลย หรือไม่ก็ศัพท์เทคนิค เช่น ในทางการแพทย์ การส่องกล้องลำไส้ ทางแพทย์พม่าส่วนใหญ่ อาจใช้คำภาษาอังกฤษ เลย คือ Gastroscopy แต่ยังไม่มีการบัญญัติคำเป็นภาษาพม่า ในลักษณะแบบนี้นักแปลก็ต้องใช้วิธีการอธิบายความหมายในคำนั้นๆอีกข้อหนึ่งก็คือ คุณภาพของต้นฉบับ ถ้าต้นฉบับเรียบเรียงมาไม่ดี มีความหมายก้ำกึ่ง มีข้อผิดพลาดเบี่ยงเบนไปจากที่เจ้าของต้นฉบับตั้งใจไว้ อันนี้ก็จะทำให้นักแปลต้องมาขยายความใหม่และต้องใช้เวลาในการแปลเพิ่มมากขึ้น
เทคนิคและเคล็ดลับในการแปลภาษาพม่า
ผู้แปลจำเป็นที่ จะต้องเข้าใจถึงเนื้อหาต้นฉบับอย่างถ่องแท้ว่า ต้นฉบับนั้น เขาพูดถึงอะไร ถ้าไม่เข้าใจต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม หรือสอบถามลูกค้าให้แน่ใจก่อนทำการแปล อาจจะใช้เวลาในการศึกษา แต่จะทำให้คำแปลถูกต้องที่สุด
สิ่งที่อยากแนะนำสำหรับคนที่อยากเริ่มแปลภาษาพม่า
การแปลภาษา กล่าวได้ว่า เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ สำหรับทักษะการแปลที่มีคุณภาพและได้อรรถรสนั้น จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้แปลหมั่นคลุกคลีอยู่กับภาษา (ต้นทางและปลายทาง) เรื่องราว (ด้านที่จะแปล) การเกิดขึ้นของคำศัพท์ใหม่ คำแสลง ฯลฯ ในหมู่นักดนตรี จะมีคำกล่าวว่า “Hear with your eyes, see with your ears” หมายถึง อ่านโน้ตก็ต้องได้ยินเสียงดนตรี ในทางกลับกัน ถ้าได้ยินก็ต้องเห็นโน้ต ในทำนองเดียวกันเรานักแปลก็ต้องพัฒนาให้ได้ถึงขั้นนั้น
ในสมัยนี้ นักแปลสามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์และเครื่องมือช่วยต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น online dictionary, สารานุกรมหรือ พจนานุรมเฉพาะวิชาการ (แพทย์ วิศวกรรม ฯลฯ) ที่จะทำให้การแปลง่ายขึ้นและสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ อย่าหยุดการเรียนรู้ และ จงสนุกกับการแปล
-
คำศัพท์ที่พบบ่อยและใช้บ่อย
ประเภท | ไทย | พม่า | การออกเสียง |
ทั่วไป | ชื่อ | အမည္ | Amee |
อายุ | အသက္ | AThet |
ชาย | က်ား | Kyarr |
หญิง | မ | Ma |
ด้านแรงงาน | นายจ้าง | အလုပ္႐ွင္ | Ah Lote Shin |
ลูกจ้าง | အလုပ္သမား | Ah LoteTha Marr |
สิทธิและหน้าที่ | တာဝန္ႏွင့္ အခြင့္အေရး | TarWun Net Ah Khwet Ah Yayy |
ค่าจ้าง | လုပ္အားခ | LoteAhrrKha |
สัญญาจ้าง | အလုပ္ခန္႔စာခ်ဳပ္ | Ah LoteKhantSarChote |
เอกสารทางทะเบียนราษฎร / เอกสารแสดงฐานะบุคคล | บัตรประชาชน | မွတ္ပံုတင္ကတ္ | Mut Pone Tin Card |
หนังสือเดินทาง | ပတ္စပို႔စာအုပ္ | Passport SarOte |
ทะเบียนบ้าน | အိမ္ေထာင္စုစာရင္း | EinThaung Su Sa Yinn |
สินค้าอุปโภค บริโภค | เครื่องสำอาง | အလွကုန္ | Ah La Kone |
แชมพู | ေခါင္းေလွ်ာ္ရည္ | Gaung Shawl Yee |
อาหาร | အစားအစာ | Ah Sarr Ah Sar |