ทำความเข้าใจการนับปีของญี่ปุ่น เน็งโงและปฏิทินสากล

ทำความเข้าใจการนับปีของญี่ปุ่น เน็งโงและปฏิทินสากล

แน่นอนว่าใครที่สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่น หรือมีโอกาสได้เดินทางไปที่นั่น คงเคยได้ยินมาบ้างว่าญี่ปุ่นมีการนับปีที่ไม่เหมือนใคร หลายคนอาจเคยงงเมื่อเจอปี "เฮเซ" หรือ "เรวะ" ในเอกสารราชการหรือแม้แต่ในปฏิทินท้องถิ่น แล้วมันต่างจากปีสากลอย่างไรนะ? วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนับปีของญี่ปุ่น ที่ใช้ระบบ เน็งโง (年号) ซึ่งเป็นการนับปีตามรัชสมัยของจักรพรรดิ และหากเทียบกับปฏิทินสากลที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปจะเป็นอย่างไร

"เน็งโง" (年号) หรือ "เก็งโง" คืออะไร?

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า ระบบเน็งโง หรือ เก็งโง คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรกับชาวญี่ปุ่นบ้าง เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและเห็นความสำคัญมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

"เน็งโง" (年号, Nengō) หรือบางครั้งเรียกว่า "เก็งโง" (元号, Gengō) หมายถึง การนับปีแบบเฉพาะยุคสมัยของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการกำหนดชื่อปีตามรัชสมัยของจักรพรรดิ การนับปีแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ปฏิทินญี่ปุ่น ที่ใช้ควบคู่กับปฏิทินสากล และมีความสำคัญทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการใช้งานในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่น ซึ่งการนับปีตามระบบเน็งโงจะเปลี่ยนไปทุกครั้งที่มีการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิใหม่ ยุคสมัยของญี่ปุ่นจึงถูกแบ่งออกเป็น "ยุค" โดยแต่ละยุคจะมีชื่อเฉพาะเรียกว่า "เน็งโง"

ความสำคัญของเน็งโงในวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ความสำคัญของเน็งโงในวัฒนธรรมญี่ปุ่น

การใช้เน็งโงถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการรักษาความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมและแสดงถึงความเคารพต่อประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนานในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการความสำคัญในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

  1. การแบ่งยุคประวัติศาสตร์ เน็งโงช่วยให้คนญี่ปุ่นแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ได้ง่ายขึ้น เช่น ยุคเมจิ (明治), ยุคไทโช (大正), ยุคโชวะ (昭和), และยุคเฮเซ (平成)
  2. การเชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญ ชื่อยุคมักถูกเลือกให้สะท้อนถึงความหวังหรือความหมายที่ดี เช่น ยุคเรวะ (令和) มีความหมายว่า "ความสงบสุขและความกลมเกลียว"
  3. การใช้งานในเอกสารราชการ เอกสารทางราชการ เช่น ใบเกิด ใบรับรองต่าง ๆ และปฏิทินส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นจะใช้ระบบเน็งโกร่วมกับปีสากล

ตัวอย่างยุคสมัยสำคัญของญี่ปุ่น

การนับยุคของญี่ปุ่นยุคใหม่ จะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนรัชสมัยของพระจักรพรรดิตามตัวอย่าง ดังนี้

ตารางเทียบการนับปีด้วยระบบเน็งโงและปฏิทินสากล

เมื่อได้ทำความเข้าใจกับระบบเน็งโงไปแล้วว่ามีความสำคัญกับชาวญี่ปุ่นอย่างไร มาดูตารางเทียบการนับปีด้วยระบบเน็งโงและปฏิทินสากลกันบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าตารางนี้จะได้ใช้ในเอกสารราชการ หากใครที่กำลังศึกษาหรือกำลังแปลเอกสารราชการของญี่ปุ่นก็สามารถใช้ตารางนี้เทียบได้เลย (สามารถค้นหาด้วยการกด Ctrl + F และกรอกจำนวนปีที่ต้องการค้นหา)

การเทียบระบบเน็งโงและปฏิทินสากล: ยุคเมจิ

การเทียบระบบเน็งโงและปฏิทินสากล: ยุคเมจิ

  • ยุคเมจิ (明治, Meiji): ค.ศ.1868-1912
  • ความหมาย: กฎอันรู้แจ้ง
  • จักรพรรดิ: สมเด็จพระจักรพรรดิมุตสึฮิโตะ
  • วันเริ่มต้น: 23 ตุลาคม ค.ศ. 1868
  • วันสิ้นสุด: 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912
เมจิที่12345678910
ปี ค.ศ.1868186918701871187218731874187518761877
ปี พ.ศ.2411241224132414241524162417241824192420
เมจิที่11121314151617181920
ปี ค.ศ.1878187918801881188218831884188518861887
ปี พ.ศ.2421242224232424242524262427242824292430
เมจิที่21222324252627282930
ปี ค.ศ.1888188918901891189218931894189518961897
ปี พ.ศ.2431243224332434243524362437243824392440
เมจิที่31323334353637383940
ปี ค.ศ.1898189919001901190219031904190519061907
ปี พ.ศ.2441244224432444244524462447244824492450
เมจิที่4142434445
ปี ค.ศ.19081909191019111912
ปี พ.ศ.24512452245324542455
การเทียบระบบเน็งโงและปฏิทินสากล: ยุคไทโช

การเทียบระบบเน็งโงและปฏิทินสากล: ยุคไทโช

  • ยุคไทโช (大正; Taishō): ค.ศ.1912-1926
  • ความหมาย: ความชอบธรรมอันยิ่งใหญ่
  • จักรพรรดิ: สมเด็จพระจักรพรรดิโยชิฮิโตะ
  • วันเริ่มต้น: 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912
  • วันสิ้นสุด: 25 ธันวาคม ค.ศ. 1926
ไทโชที่12345678910
ปี ค.ศ. 1912 1913 1914 1915 1916 1917 1918 1919 1920 1921
ปี พ.ศ. 2455 2456 2457 2458 2459 2460 2461 2462 2463 2464
ไทโชที่ 11 12 13 14 15
ปี ค.ศ. 1922 1923 1924 1925 1926
ปี พ.ศ. 2465 2466 2467 2468 2469
การเทียบระบบเน็งโงและปฏิทินสากล: ยุคโชวะ

การเทียบระบบเน็งโงและปฏิทินสากล: ยุคโชวะ

  • ยุคโชวะ (昭和, Shōwa): ค.ศ.1926-1989
  • ความหมาย: ความกลมเกลียวอันรู้แจ้ง
  • จักรพรรดิ: สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ
  • วันเริ่มต้น: 25 ธันวาคม ค.ศ. 1926
  • วันสิ้นสุด: 7 มกราคม ค.ศ. 1989
โชวะที่12345678910
ปี ค.ศ. 1926 1927 1928 1929 1930 1931 1932 1933 1934 1935
ปี พ.ศ. 2469 2470 2471 2472 2473 2474 2475 2476 2477 2478
โชวะที่ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20
ปี ค.ศ. 1936 1937 1938 1939 1940 1941 1942 1943 1944 1945
ปี พ.ศ. 2479 2480 2481 2482 2483 2484 2485 2486 2487 2488
โชวะที่ 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
ปี ค.ศ. 1946 1947 1948 1949 1950 1951 1952 1953 1954 1955
ปี พ.ศ. 2489 2490 2491 2492 2493 2494 2495 2496 2497 2498
โชวะที่ 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40
ปี ค.ศ. 1956 1957 1958 1959 1960 1961 1962 1963 1964 1965
ปี พ.ศ. 2499 2500 2501 2502 2503 2504 2505 2506 2507 2508
โชวะที่ 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
ปี ค.ศ. 1966 1967 1968 1969 1970 1971 1972 1973 1974 1975
ปี พ.ศ. 2509 2510 2511 2512 2513 2514 2515 2516 2517 2518
โชวะที่ 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60
ปี ค.ศ. 1976 1977 1978 1979 1980 1981 1982 1983 1984 1985
ปี พ.ศ. 2519 2520 2521 2522 2523 2524 2525 2526 2527 2528
โชวะที่ 61 62 63 64
ปี ค.ศ. 1986 1987 1988 1989
ปี พ.ศ. 2529 2530 2531 2532
การเทียบระบบเน็งโงและปฏิทินสากล: ยุคเฮเซ

การเทียบระบบเน็งโงและปฏิทินสากล: ยุคเฮเซ

  • ยุคเฮเซ (平成, Heisei): ค.ศ.1989-2019
  • ความหมาย: สันติภาพทุกสารทิศ
  • จักรพรรดิ: สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ
  • วันเริ่มต้น: 8 มกราคม ค.ศ. 1989
  • วันสิ้นสุด: 30 เมษายน ค.ศ. 2019
เฮเซที่12345678910
ปี ค.ศ. 1989 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998
ปี พ.ศ. 2532 2533 2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541
เฮเซที่ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20
ปี ค.ศ. 1999 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008
ปี พ.ศ. 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551
เฮเซที่ 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31
ปี ค.ศ. 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019
ปี พ.ศ. 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562
การเทียบระบบเน็งโงและปฏิทินสากล: ยุคเรวะ

การเทียบระบบเน็งโงและปฏิทินสากล: ยุคเรวะ

  • ยุคเรวะ (令和, Reiwa): ค.ศ.2019-ปัจจุบัน
  • ความหมาย: ความสงบสุขและความกลมเกลียว
  • จักรพรรดิ: เจ้าชายนารุฮิโตะ
  • วันเริ่มต้น: 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
  • วันสิ้นสุด: ปัจจุบัน
เรวะที่123456
ปี ค.ศ. 2019 2020 2021 2022 2023 2024
ปี พ.ศ. 2562 2563 2564 2565 2566 2567

สรุป

การนับปีของญี่ปุ่นด้วยระบบ เน็งโง (年号) ถือเป็นเสน่ห์ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศญี่ปุ่น การใช้ชื่อยุคตามรัชสมัยของจักรพรรดิไม่เพียงแต่ช่วยระบุช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ แต่ยังแฝงไปด้วยความหมายและความหวังในทุกยุคสมัย แม้ว่าการนับปีแบบนี้อาจทำให้หลายคนรู้สึกสับสนเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล แต่เมื่อได้ลองทำความเข้าใจแล้ว คุณจะพบว่านี่เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจและเต็มไปด้วยเรื่องราวที่สะท้อนถึงความเป็นญี่ปุ่นอย่างแท้จริง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:

เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับ ภาษาญี่ปุ่น