ตัวคันจิ ในภาษาญี่ปุ่น

ตัวคันจิ ในภาษาญี่ปุ่น

ตัวคันจิ「漢字かんじ」เป็นตัวอักษรที่ยืมมาจากภาษาจีน การเรียกรู้ตัวคันจิในภาษาญี่ปุ่นนั้น จำเป็นต้องใช้ความเพียรพยายามเป็นอย่างสูง เนื่องจากมีวิธีอ่านหลายแบบ การใช้และความหมายก็ไม่เหมือนกับต้นแบบที่นำมาจากภาษาจีนซะทีเดียว และมีวิธีอ่านแบบเฉพาะ จึงทำให้หลายๆ คนที่เริ่มเรียน ตัวคันจิ จึงเกิดความท้อแท้ ไม่อยากเรียนอีกต่อไป ในช่วงท้ายจะบอกเทคนิคการจำ พร้อมวิธีการเขียนตัวคันจิ ที่ช่วยให้การเรียนรู้ตัวคันจิไม่ยากอีกต่อไป

 
 

คันจิเกิดมาจากอะไร

สำหรับตัวคันเกิดจากการวาดภาพตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา, แม่น้ำ, ต้นไม้, พระอาทิตย์ และ พระจันทร์ เป็นต้น ต่อมาพัฒนาจนกลายเป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน คิดค้นและออกแบบขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวจีนตั้งแต่สมัยก่อน ชื่อ โซเคซึ 「蒼頡そうけつ」(ผู้ถูกขนานนามว่ามี 4 ตา) กล่าวกันว่าตัวคันจิทั้งหมดนั้นมี 3 หมื่นกว่าตัว (ไม่มีใครจำได้หมด ยิ่งถ้าเป็นวิธีอ่านแบบเฉพาะต้องใช้ความเคยชินถึงอ่านได้) แต่คันจิที่ใช้บ่อยๆ ใช้ในชีวิตประจำวันที่เรียกว่า “โจวโยคันจิ” 「常用漢字じょうようかんじ」เป็นตัวคันจิที่ควรนำมาฝึกให้ชำนาญ เพื่อการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ

 
 

1. ทำไมต้องมีตัวคันจิ

ตัวคันจิ ถือ ว่าเป็นตัวอักษรที่มีประโยชน์มากในภาษาญี่ปุ่น เนื่องจาก ตัวอักษร การออกเสียง สระ และ วรรณยุกต์ ในภาษาญี่ปุ่นมีน้อยและมีข้อจำกัดมาก สังเกตได้จากสำเนียง และ ความสามารถในการฟังของคนญี่ปุ่น ถือว่ามีข้อจำกัดมาก แต่คนญี่ปุ่นจะเก่งเรื่องการพูดให้ตรงจังหว่ะ การเน้นเสียงสูง ต่ำ สั้น ยาว และการฟังเสียงขุ่น (เช่น ตัว J, Z) และ เสียงกัก (เช่น การออกเสียงให้สั้นเหมือนไม้ยมกของไทย) ※ หากไม่ใช้ตัวคันจิเลยจะทำให้การเขียนตัวอักษรกินพื้นที่ หากไม่มีตัวคันจิ หรือ ภาษาที่ยืมจากต่างประเทศมาใช้แบบทับศัพท์เลย คนญี่ปุ่นต้องใช้ภาษาญี่ปุ่นแบบแท้ๆที่จะต้องออกเสียงยาวมาก และ สื่อความหมายได้ยาก เช่น

  • 便利性(べんりせい)徹底的(てっていてき)追及(ついきゅう
    べんりせいをてっていてきについきゅう
  • 調整(ちょうせい)新車(しんしゃ)海水(かいすい)
    しらべ+ととのえ、あたら・しい+くるま、うみ+みず

หากไม่นำตัวคันจิสองตัวมาประสมกันแล้วอ่านด้วยเสียงแบบจีน (音読おんよみ) และอ่านแบบญี่ปุ่น(訓読くんよみ) อย่างเดียวจะกินพื้นที่มาก บางครั้งจะสื่อความหมายได้ยาก

※ คันจิง่ายๆ ตอนเริ่มเรียน เช่นตัว 人 ก็มีเสียงอ่านหลายแบบ ต้องฝึกจากประโยคจริง และใช้พูดในสถานการณ์จริง※

เสียงแบบจีน 音(おん):ジン、ニン
เสียงอ่านแบบญี่ปุ่น 訓(くん):ひと、びと、うと、うど

 
 

ยกตัวอย่างการใช้คันจิตัว 人

  1. 巨人きょじん =ยักษ์, ทีมเบสบอลใจแอนท์
  2. 証人(しょうにん)=พยาน (ใช้ตอนเซ็นชื่อในท้ายสัญญา)
  3. (ひと)=คน
  4. 小人(こびと)= คนแคระ
  5. 仲人(なこうど)素人(しろうと)=พ่อสื่อ/แม่สื่อ, มือสมัครเล่น
 
 

2. ความสำคัญของตัวคันจิ

ตัวคันจิ คือ ตัวอักษรที่สื่อความหมายในตัวของมันเอง โดยไม่ต้องเสียเวลาสะกด และช่วยประหยัดพื้นที่ในการเขียนเรียงความ ภาษาทางการ ซึ่งพื้นที่ใช้สอยมีจำกัด ตัวคันจิบางประเภท เช่น ชื่อคน ชื่อสัตว์ ชื่อพืช ชื่อสถานที่ หรือ ตัวที่ถูกคิดค้นขึ้นใหม่เป็นคำประสมในภาษาญี่ปุ่น ล้วนแต่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากไม่เคยรู้คำอ่าน ไม่เคยใช้จริงมาก่อน หรือเป็นตัวคันจิที่มีความซับซ้อนมาก เขียนยาก จะไม่นิยมใช้ (ในภาษาญี่ปุ่นจะเขียนเป็นตัวคาตาคานะแทน)

เนื่องจากตัวคันจิในภาษาญี่ปุ่น อ่านได้หลายแบบ มีความหมายแฝงแล้วแต่คนเขียนจะสื่อ เราจึงสังเกตได้ในบางครั้งว่า ด้านบนตัวคันจิจะมีตัว ฮิรางานะ หรือ คาตาคานะ กำกับไว้ เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น หรือ ผู้เขียนต้องการสื่อความหมายแฝงนั้นๆ ขอยกตัวอย่างคันจิที่อ่านยากๆ และต้องมีตัว ฟุริงานะ หรือ รูบี้ กำกับ

 
 
  1. 濱保(はまやす)= ชื่อคน
  2. 海豚(いるか)=ปลาโลมา
  3. 薔薇(ばら)=ดอกกุหลาบ
  4. 猪苗代(いなわしろ=อินาวาชิโระ(ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว)
  5. 順風満帆(じゅんぷうまんぱん=ดำเนินการได้อย่างราบรื่น
 
 

หากเราเป็นมือใหม่อ่านคันจิไม่ออก! แน่นอนขนาดมืออาชีพ หรือ คนญี่ปุ่นเองก็ยังอ่านไม่ออก เทคนิคในการใช้มีดังนี้

วิธีที่ 1 กรณีคันจิตัวเป้าหมาย เราสามารถก๊อปปี้แล้วนำมาวางใน MS Word ได้ แบบนี้ค่อนข้างสบาย เพราะบนแทบด้านบนจะมีฟังชั่นช่วยอ่านอยู่ (หากคำอ่านไม่ยากจนเกินไป ประมาณ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์จะอ่านได้) คลิกสัญลักษณ์ abcA เขียนตัวคันจิภาษาญี่ปุ่น

วิธีที่ 2 หาก คันจิตัวเป้าหมาย ไม่สามารถก๊อปปี้ได้ ให้ใช้ฟังค์ชั่นลากเส้น ใน Language bar ที่ เป็น IME PAD (จะลากเส้นหาตัวคันจิได้ต้องมีทักษะในการลากเส้นตามลำดับพอควร ใครทำเป็นแล้วข้ามขั้นนี้ไปได้เลย)

วิธีที่ 3 เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด คือ การใช้สมาร์ทท์โฟน ถ่ายรูปตัวคันจิ หรือ ประโยคเป้าหมาย แล้วใช้โปรแกรม Google translate ในสมาร์ทโฟนแสกน และแปลงเป็นตัวอักษรให้ จากนั้นค่อยนำไปหาคำอ่านตามเวปไซต์อีกที

 
 

3. วิธีการเขียนตัวคันจิ

การเขียนตัวคันจิ ต้องฝึกฝนตั้งแต่ขั้นตอนพื้นฐาน การนับเส้น และ การกด ตวัด ลากเส้นตามทิศทาง และปล่อยมือตามน้ำหนักให้ได้เส้นที่เรียวสวย ศึกษาด้วยตัวเองได้จากเวป https://kakijun.jp หรือหาดูในยูทูป

 
 

4. วิธีจำคันจิ

คันจิ ทุกตัวจะเริ่มเขียนจาก ธาตุหลัก เปรียบเสมือนหัวใจของตัวคันจินั้นๆ ตอนเริ่มเรียนส่วนใหญ่ผู้เรียนจะถูกบังคับให้จำ และ คัดตัวคันจิ ในปริมาณมากๆ ซึ่งเสียทั้งเวลาและเกิดอาการปวดข้อปวดนิ้ว จำได้เฉพาะช่วงก่อนสอบ ตอนสอบ พอสอบเสร็จก็เข้าหม้อกันหมด เพราะไม่มีใครสอนให้จำคันจิจาก “ธาตุแท้” (ที่คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า 部首(ぶしゅ (บุชุ)) บุชุนั้น คือคีย์ลัดในการจำทั้งความหมาย รูปร่าง และวิธีเขียนคันจิตัวนั้นๆ สังเกตได้ว่าตัวคันจิส่วนใหญ่ จะเกิดจากผสมผสานของตัว “คาตาคานะ”

 
 

ตัวอย่างวิธีการจำคันจิ

หากต้องการเขียนคำว่า 家 ที่แปลว่า “บ้าน” หากเราคัดไปเฉยๆจะจำได้ ด้วยสมองและความเคยชิน โดยขาด จินตนาการ! ก่อนเขียน ”บ้าน” เราต้องเริ่มเขียนจากหลังคาก่อน ซึ่งหลังคาตัวนี้เองมีที่มาจาก ตัว ウ ในคาตาคานะ ถ้าเราจำด้วยวิธีนี้ และศึกษาวิธีเขียนตัวคันจิจาก 部首(ぶしゅ อ่านว่า (บุชุ) หรือ ธาตุแท้ของมัน การเรียนรู้คันจิจะสนุกยิ่งขึ้น

 
 

แนะนำเทคนิคการจำตัวคันจิเบื้องต้น

  • 花 จำเฉพาะส่วนบน ซึ่งเป็นบุชุที่เกี่ยวกับ พืช เรียกว่า くさかんむり (หลังคาหญ้า)
  • 猿 จำเฉพาะซีกซ้าย ซึ่งเป็นบุชุที่เกี่ยวกับ สัตว์ เรียกว่า けものへん (เกี่ยวกับสัตว์)
  • 休 จำเฉพาะซีกซ้าย ซึ่งเป็นบุชุที่เกี่ยวกับ คน เรียกว่า にんべん (เกี่ยวกับคน)
  • 破壊 จำเฉพาะซีกซ้าย ของทั้งสองตัว ซึ่งเป็นบุชุที่เกี่ยวกับ หิน และ ดิน เรียกว่า いしへん (หิน), つちへん (ดิน)
  • 海 จำเฉพาะซีกซ้าย ซึ่งเป็นบุชุที่เกี่ยวกับ น้ำ เรียกว่า さんずい (เกี่ยวกับน้ำ)
 

แนะนำหนังสือฝึกสกิลคันจิ จากพื้นฐาน ที่ทั้งอ่านสนุก อ่านสบายๆ ก่อนนอน และต่อยอดไปจนเป็นระดับมืออาชีพได้หรือโหลดเป็นแอปมาฝึกกันได้ https://play.google.com/store/apps/details?id=org.chaidev.kanji

ราคาพิมพ์คันจิภาษาญี่ปุ่น

 

สรุปตัวคันจิในภาษาญี่ปุ่น

เท่านี้พื้นฐานการจำคันจิจะสนุกขึ้น เมื่อฝึกฝนจะชำนาญ ไม่จำเป็นต้องคัดตัวคิดจิในปริมาณมากๆ แต่เราจะสามารถมองเห็นถึง “ธาตุแท้” ของคันจิตัวนั้นๆ การเรียนรู้คันจิ สำคัญที่จินตนาการ พื้นฐานที่ถูกต้อง และความมุ่งมั่น คันจิถือว่ายากและซับซ้อนที่สุด หากผ่านไปได้ การเรียนรู้ส่วนอื่นๆ จะง่ายขึ้น

 
คลิกที่นี่เพื่อสนทนา
Facebook Logo